ปัญหาทารกติดจุก (NIPPLE CONFUSION)

ลูกน้อยพึ่งแรกคลอดมีปฏิกิริยา ปฎิเสธเต้านม เมื่อได้ดื่มนมจากจุกเพียงครั้งเดียว ทำไม่ีลูกน้อยถึงเปลลี่ยนไปได้ถึงขนาดไม่่ยอมดูดนมแม่อีกเลย ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความเข้าใจผิดๆ ว่า การดูดนมแม่จากเต้าแม่ก็เหมือนกับการกินนมแม่จากขวด ทารกที่กินนมจากขวดตั้งแต่อายุน้อยกว่า1เดือน จะมีปัญหาในการดูดนมแม่ เพราะหัวนมแม่และจุกนมขวดมีกลไกลการดูดที่แตกต่างกัน ดังนี้

กลไกการดูดนมแม่จากหัวนมแม่
ลูกน้อยต้องใช้ลิ้นและขยับกรามล่างเพื่อ “รีด” น้ำนมออกจากกระเปาะน้ำนม
เมื่อลูกดูดนนมแม่ ลูกต้องอ้าปากกว้างและอมหัวนมแม่ไปถึงลานนม หัวนมแม่จะยืดไปถึงด้านในปากของลูก
ลิ้นของลูกจะห่อลานนมที่ยืดและกดให้แนบไปกับเพดานปาก
เมื่อลูกขยับลิ้นและกราม น้ำนมจะถูกรีดออกมาตามจังหวะที่ลูกขยับกราม
หากลูกดูดตามวิธีดังกล่าว หัวนมจะอยู่ด้านในสุดของช่องปาก ทำให้แม่ไม่รู้สึกเจ็บหัวนม

กลไกการดูดนมแม่จากขวด (จุกนมยาง) หรือนมผงจากจุกขวด
น้ำนมจะไหลผ่านรูที่จุกนมยาง โดยอาศัยแรงโน้มถ่วง ดังนั้นลูกไม่ต้องออกแรงในการกินนม ถึงแม้ปัจจุบันจะมีพัฒนาการผลิตจุกนมแบบไม่ดูดไม่ไหลก็ตาม เมื่อทารกดูดปริมาณน้ำนมที่ไหลออกมาก็มากกว่าเมื่อเทียบกับหัวนมแม่
ลูกไม่ต้องอ้าปากกว้าง แต่จะห่อริมฝีปากให้เล็กและแน่น
จุกนมยางไม่ยืดถึงส่วนในสุดของช่องปาก ลูกไม่ต้องใช้ลิ้นรีดเพื่อเอาน้ำนมออกจากจุกนมยาง
ลูกจะดูดแผ่วๆ และงับกัดจุกนมยางเพื่อให้น้ำนมไหลออกจากขวด
เมื่อน้ำนมไหลเร็วเกินไป ลูกจะใช้ลิ้นดุนขึ้นเพื่อชะลอการไหลของนม
น้ำนมไหลไม่หยุดและเอ่อล้นอยู่ในปาก ไม่ว่าลูกจะดูดหรือไม่ดูดก็ตาม

ด้วยเเหตุผล กลไกการดูดที่ง่ายกว่า สบายกว่าจึงทำให้ลูกน้อยของคุณเกิดติดอกติดใจ อยากดูดจุกอีก ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ยอมดูดหัวนมแม่อีก เพราะฉะนั้นคุณแม่หลายคนอาจพลาดไปแล้ว มาดูวิธีป้องกันแก้ไขลูกรักติดจุกนมยางกันค่ะ

วิธีป้องกันปัญหาติดจุกนมยาง
เพราะทารกต้องฝึกฝนทักษะการดูดกินนมจากเต้าแม่ในช่วง 1 เดือนแรก จึงไม่ควรให้ทารกกินนมจากจุกนมยางในช่วงอายุน้อยกว่า 1-2 เดือน (รวมถึงจุกนมหลอก หรือ pacifier ด้วย)
แม่หลายคนที่ต้องกลับไปทำงานอาจกังวลเรื่องลูกติดเต้า ไม่ยอมกินนมจากขวดระหว่างแม่ไปทำงาน จึงต้องการฝึกให้ลูกยอมรับขวดตั้งแต่วัยเพียงไม่กี่สัปดาห์ แต่วิธีนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาติดจุกได้ เพราะเมื่อลูกติดจุกและไม่ยอมดูดจากเต้า ปัญหาอื่นๆ อาจจะหนักกว่ากับการอดทนฝึกให้ลูกกินจากขวดหรือวิธีอื่นๆ (แก้ว/ ช้อน/ หลอด) ตอนลูกอายุ 2-3 เดือน

วิธีแก้อาการติดจุกให้ลูกน้อยหายจากภาวะสับสน
งดขวด จุกนมยาง จุกนมหลอก
ป้อนนมลูกด้วยวิธีอื่น เช่นป้อนนมด้วยแก้ว ป้อนนมด้วยช้อน จากเเรกเกิด – 1 เดือน
อุ้มลูกบ่อยๆ ให้ลูกเคยชินกับไออุ่นจากอกแม่
ให้ลูกกินนมจากอกเมื่อลูกอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิด อย่ารอให้ลูกหิวจัด
เช็คดูว่าลูกกินนมถูกวิธีหรือไม่ อ้าปากกว้างก่อนงับ และอมถึงลานนมหรือไม่
นวดประคบเต้านมก่อนให้ทารกดูด ทารกที่ติดจุกจะพอใจเมื่อดูดปุ๊บ น้ำนมไหลปั๊บ จะยอมรับเต้านมแม่ง่ายขึ้น
ใช้อุุปกรณ์เสริม เช่น ดรอปเปอร์หรือไซริงค์หยอดน้ำนมที่มุมปากของลูกทันทีเมื่อลูกเข้าเต้า ก่อนที่ลูกจะหงุดหงิดไม่ยอมรับเต้าแม่
ปรึกษาคลินิคนมแม่ หรือแม่อาสา

ทุกสิ่งทุกอย่างจะสำเร็จ ขึ้นอยู่กับความสตรองของแม่ด้วยนะคะ อย่าเผลอใจอ่อนสงสารลูกขึ้นมาล่ะ เพราะหากเจ้าตัวน้อยของคุณเกิดติดจุกขึ้นมาแล้วล่ะก้อ งานนี้ยาวแน่ค่ะ

"อย่าลืมกดไลค์และติดตามเพจของเราไว้นะคะ(อยู่ข้างล่าง) เรามีบทความดีๆเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เคล็ดลับการเลี้ยงลูก ข่าวสารเกี่ยวกับแวดวงแม่และเด็ก มาอัพเดทกันทุกวันเลยค่ะ. Mamaexpert.com คู่มือออนไลน์สำหรับการเป็นคุณแม่มืออาชีพ "

Source:mamaexpert
Share To:
Magpress

MagPress

Vestibulum bibendum felis sit amet dolor auctor molestie. In dignissim eget nibh id dapibus. Fusce et suscipit orci. Aliquam sit amet urna lorem. Duis eu imperdiet nunc, non imperdiet libero.

Post A Comment:

0 comments so far,add yours